เสียงจากภาคประชาสังคม สะท้อนนโยบายที่ต้องการจากพรรคการเมือง

หลังจากที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรไทยชุดที่ 25 และได้มีการประกาศการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566
เป็นวันแรกที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เปิดรับสมัครเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และแจ้งรายชื่อบุคคลที่พรรคการเมืองมีมติจะเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ตามที่ กกต.ประกาศจะเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 4-7 เม.ย. โดยมีหัวหน้าพรรคและตัวแทนมาลงทะเบียนเพื่อจับหมายเลขประจำพรรคจำนวน 49 พรรค เพื่อใช้ในการหาเสียงนั้น
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาพรรคการเมืองแต่ละพรรค ได้มีการลงพื้นที่หาเสียงในแต่ละจังหวัด และนำเสนอนโยบายทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุ การศึกษา และภาคสังคมที่มีความเหมือนและแตกต่างกันออกไป
ห้องอเนกประสงค์ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ปทุมวัน กรุงเทพ กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม 16 องค์กร ได้ร่วมกันจัดงาน แถลงข่าว “เลือกตั้ง 2566: ฟังเสียงนโยบายจากภาคประชาสังคม (Civil Society’s Agenda for the 2023 Thailand Election) เพื่อสะท้อนไปยังพรรคการเมืองต่างๆ
5 เรื่องที่ต้องการจากพรรคการเมือง
“สฤณี อาชวานันทกุล” กรรมการผู้จัดการด้านการพัฒนาความรู้ บริษัท ป่าสาละ จำกัด กล่าวว่าขณะนี้ทุกคนกำลังอยู่ในยุคที่ไม่ว่าจะบริษัทขนาดไหน ภาคส่วนใดต่างมีการอ้างถึงความรับผิดชอบต่อสังคม มีนโยบายเรื่องความยั่งยืน มีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งจริงๆ แล้วการรับผิดชอบต่อสังคม นั่นคือ เรื่องของสิทธิมนุษยชน
สิ่งที่อยากนำเสนอพรรคการเมืองมีทั้งหมด 5 เรื่อง คือ
1.อยากให้มีการบังคับให้บริษัทขนาดใหญ่ของไทย มีการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน รวมไปถึงห่วงโซ่อุปทาน และซัพพลายเชนของบริษัทด้วย
2.อยากให้ศึกษาการนำกลไกตลาดคาร์บอน มาลดปัญหา ความเสี่ยงเรื่องสิทธิมนุษยชนร่วมด้วย และควรใช้มาเป็นแรงจูงใจให้แก่เกษตร หรือผู้ที่อยู่กับป่า
3.การออกกฎหมายการต้านฟ้องการกลั่นแกล้งสิทธิมนุษยชน และประชาชน รวมถึงควรยกเลิกกฎหมายอาญาเรื่องนี้ ควรเหลือเพียงกฎหมายแพ่งเท่านั้น
4.การออกกฎหมายป้องกันการเลือกปฎิบัติ เพื่อสร้างแรงกดดัน และสนามแข่งที่เท่าเทียมกัน
5.กลไกคุ้มครองผู้ให้เบาะแสคอรัปชั่น คือ การมองหาแนวทาง หรือจะทำอย่างไรให้หน่วยงานรัฐ เอกชน มีกลไกคุ้มครองแก่ผู้ให้เบาะแสได้
“รูปแบบการทำงานของรัฐที่ผ่านมาในเรื่องนี้ เข้าใจว่ามีความตั้งใจดี แต่ในทางปฎิบัติขณะนี้ยังไม่ได้เป็นการทำในสิ่งที่ควรทำ ซึ่งภาคประชาสังคมสามารถจะช่วยรัฐได้ อยากให้ภาครัฐมอบการกำกับภาคธุรกิจที่มีความชัดเจน และยกระดับความรับผิดชอบมนุษยชน” สฤณี กล่าว แนะนำข่าวเพิ่มเติม>>> ไอดอลเลย! หนุ่มหยอดกระปุกนาน 9 เดือน หอบเหรียญ 1.8 แสน ถอยรถป้ายแดง